top of page

      เฟสบุ๊คของวัดธรรมาภิรตารามติดลำดับ ๑ ใน ๒๐ ของวัดไทยในการสื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงพระพุทธศาสนา

           ที่มา

           สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้วิจัยโครงการเรื่อง “บทบาทวัดในพื้นที่เสมือนกับการสื่อสารจิตวิญญาณเพื่อเข้าถึงประชาชนในยุคประเทศไทย ๔.๐” ได้เก็บข้อมูลบทบาทวัดในการใช้สื่อออนไลน์ทางเว็บไซต์ เฟสบุ๊คของวัดไทยต่าง ๆ  ทั่วประเทศจากสถิติการเข้าชมของประชาชนแล้วพบว่า วัดธรรมาภิรตาราม (สะพานสูง บางซื่อ) ติดลำดับ ๑ ใน ๒๐ ของวัดไทยที่มีประชาชนเข้าชมเว็บไซต์และแฟสบุ๊คมากที่สุด  คณะนิเทศศาสตร์และนวัตตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้มีหนังสือที่ อว.7215/ว945 ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ เรียนพระครูโกศลธรรมคุณ เจ้าอาวาส ขอความอนุเคราะห์เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์งานวิจัย  ดังนั้น เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ร.ศ.ดร.กุลทิพย์  ศาสตระรุจิ หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะได้มาสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลการจัดทำสื่อออนไลน์ของวัดโดยมีพระภิกษุและที่ปรึกษาวัดธรรมาภิรตารามเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ข้อมูลได้แก่ พระปลัดอัคภูมิ  อคฺคจิตฺโต  พระอภิวัฒน์  ปิยธมฺโม  พระอนุชิต  โรจนสิริ  และนายไพโรจน์  ตัณฑิกุล ที่ปรึกษาวัด โดยมีโดยมีหัวข้อการสัมภาษณ์ ดังนี้

           วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           ๑. บทบาทและสถานะวัดได้ใช้สื่อออนไลน์บนพื้นที่ออนไลน์ของวัดในการสื่อสารให้เข้าถึงสิ่งสูงสุดทางพุทธศาสนาคือพระนิพพานหรือความรู้แจ้งอย่างไร

           ๒. รูปแบบการสื่อสารออนไลน์สร้างความผูกพันทางศีลธรรมระหว่างวัดกับประชาชนอย่างไร

           ๓. ประชาชนมีการสื่อสารจิตวิญญาณออนไลน์อย่างไรและมีวิธีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ออนไลน์ของวัดอย่างไร

           ๔. แนวทางการสื่อสารออนไลน์ของวัดไทยเพื่อเข้าถึงประชาชนควรเป็นอย่างไร

           การเผยแผ่ธรรมของวัดธรรมาภิรตาราม  ทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงความรู้แจ้งของพระพุทธศาสนา

           ก. เฟสบุ๊ควัดธรรมาภิรตารามเปิดใช้ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗

           ข. เว็บไซต์ www.watthamma.com เปิดใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๒ และจดโดเมนเพื่อใช้ชื่อสะดวกแก่การเข้าชมเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๓

           การเผยแผ่พุทธศาสนาเพื่อให้ธรรมะซึมซับเข้าถึงพุทธศาสนิกชน อุบาสกอุบาสิกา โดยใช้กิจกรรมของวัดตามวาระโอกาสโดยแบ่งสามระดับได้แก่ ชั้นสูง กลาง และพื้นฐาน รวมถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึมซับเข้าไปอยู่กลางใจของพุทธศาสนิกชนทุกคน ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วัดประกาศไว้แล้ว นอกจากนี้พระครูโกศลธรรมคุณ เจ้าอาวาส ยังได้ฟื้นฟู มูลนิธิโกศลธรรมคุณ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรอาพาธ แล้วยังช่วยเหลือบุคคล นิติบุคคล ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษาโรคา ภยันตรายต่าง ๆ โดยใช้เฟสบุ๊ค มูลนิธิโกศลธรรมคุณ เป็นสื่อเผยแผ่ธรรมและการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน วัดวาอารามต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย

การคัดกรองสื่อออนไลน์

           ๑. ความผูกพันศีลธรรมระหว่างวัดกับพุทธศาสนิกชน คือ วัดได้สื่อภาพ คำสอน เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเพื่อนำพาพุทธศาสนิกชนให้มีจิตเห็นธรรมะและอยากร่วมทำบุญโดยปัจจัยและหรือสิ่งของต่างๆ การทำบุญของพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาตามกำลังศรัทธาวัดและมูลนิธิมีช่องทางให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงการทำบุญกับวัดธรรมาภิรตารามและมูลนิธิโกศลธรรมคุณ ๓ ช่องทาง คือ

          ๑.๑ ตู้รับบริจาคในศาลาการเปรียญและวิหารเป็นต้น

          ๒.๒ บริจาคกับพระภิกษุที่รู้จักหรือเจ้าอาวาส/ประธานกรรมการมูลนิธิฯ โดยตรง

          ๑.๓  การใช้แสกนคิวอาร์สาธุ หรือคิวอาร์โค้ด หรือฝากเงินเข้าบัญชีวัด หรือมูลนิธิ โดยสื่อออนไลน์ของวัดและมูลนิธิได้ประชาสัมพันธ์ไว้อย่างชัดเจน

          ทุกกรณีผู้บริจาคสามารถขอรับใบอนุโมทนาบัตรและหรือใบเสร็จรับเงินของวัด เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ หรือขอรับใบเสร็จมูลนิธิฯ เพื่อเป็นหลักฐานได้

           ๒. พุทธศาสนิกชนที่ต้องการเข้าถึงความรู้แจ้งหรือพระนิพพานซึ่งเป็นผลบุญสูงสุดได้ นอกจากการร่วมทำบุญกุศลตามวาระโอกาสแล้ว ในช่วงเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย ทุกวันธรรมสวนะช่วงเย็นถึงค่ำจะมีการสวดมนต์และฟังธรรม นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนเพศชายที่มีเจตนารมณ์ที่จะอุปสมบทเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและปฏิบัติให้เข้าถึงพระนิพพาน สำหรับเพศหญิงก็สามารถเข้าถึงความรู้แจ้งได้โดยการเรียนรู้และฝึกนั่งวิปัสนาได้ ดังที่กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนิกชนทุกเพศวัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลทางศาสนกิจได้ทางโทรศัพท์ อีเมลล์ เฟสบุ๊ค ซึ่งวัดใช้เป็นสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลไว้ครบถ้วนแล้ว โดยได้แยกประเภทศาสนกิจพร้อมชื่อฉายาพระภิกษุที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีหมายเลขโทรศัพท์แผนที่เส้นทางมาวัดทั้งปักหมุด และแผนที่เส้นทางมาวัดและสายรถเมล์ที่ผ่านวัด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนด้วยแล้ว

           ๓. การสื่อสารออนไลน์ของวัดไทยเข้าถึงประชาชนอย่างไร คำว่าวัดไทยนี้มีความหมายกว้างมาก หมายถึงวัดไทยทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศ แต่ถ้าการสื่อสารออนไลน์ตามแนวทางของวัดไทยในทัศนะของวัดธรรมาภิรตารามหมายถึงการสื่อสารกิจของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาโดยมีการคัดเลือกรูปภาพ วิดีโอ มุมภาพที่เกิดความสบายตา สบายใจแก่พุทธศาสนิกชนและผู้พบเห็นเป็นหลักเพราะบุญจะเกิดจากความสบายตาสบายใจแล้วเกิดศรัทธาต้องการจะทำบุญ ก็จะทำให้เกิดผลดีด้วยกันทั้งวัดและผู้ทำสื่อและผู้รับสื่อทุกเพศวัย

           ๔. ทางวัดใช้รูปภาพเจ้าอาวาสพระครูโกศลธรรมคุณเป็นหลักทุกสื่อออนไลน์เนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุที่อุบาสกอุบาสิกาเลื่อมใสศรัทธามากเพราะท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย กิจวัตรสงฆ์ไม่ขาดตกบกพร่องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่ท่านบวชเมื่ออายุ ๒๒ ปี เป็นพระลูกวัดจนดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส (ปัจจุบัน อายุ ๘๕ ปี )  จนอุบาสกอุบาสิกายกย่องท่านว่า “พระผู้มีศีลหอม

         

bottom of page